มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ความโศกสิ้นสุด เมื่อจิตหลุดพ้น
เมื่อลูกชายเติบโตวิ่งเล่นได้ พลันเกิดเหตุพลิกผันวิถีชีวิตของนางโดยสิ้นเชิง ลูกชายของนางเกิดล้มป่วยลง และตายจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้นางเกิดความโศกเศร้าเสียใจ อาลัยอาวรณ์ต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก จนไม่เป็นอันกินอันนอน นางไม่สามารถควบคุมสติของตนได้ กลายเป็นคนเสียสติในทันที
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หมดโศก เพราะหมดอาลัย
ชีวิตในสังสารวัฏนี้ เต็มไปด้วยทุกข์ จับต้นชนปลายไม่ถูก สังสารวัฏนี้กำหนดเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลายไม่ได้ หมู่สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏนี้ ได้เสวยความทุกข์โทมนัสมายาวนาน ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าสูงขึ้น ใหญ่โตกว่าภูเขาที่ตั้งตระหง่านเทียมฟ้า
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ไม่ควรหวัง ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ฆฏบัณฑิตได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า "ข้าพระองค์ไม่ปรารถนากระต่าย ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน ข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายบนดวงจันทร์ ข้าแต่พระเจ้าพี่ ขอพระองค์โปรดนำกระต่ายนั้นมาประทานแก่ข้าพระองค์เถิด มิเช่นนั้น ชีวิตของข้าพระองค์ก็คงไม่อาจดำรงต่อไปได้"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - โมฆะของชีวิต
ด้วยหัวใจยอดกัลยาณมิตร ปรารถนาที่จะให้ฤๅษีหักห้ามความเศร้าโศกให้ได้ จึงตรัสว่า "สัตว์ทั้งหลายมีมากมายที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายไปแล้ว แต่ท่านรู้ไหม การร้องไห้เศร้าโศกนั้น สัตบุรุษกล่าวว่า เป็นโมฆะของชีวิต ทำให้ชีวิตและจิตใจมัวหมอง หากท่านปรารถนาที่จะให้ใจผ่องใส จงหักห้ามความโศกเถิด"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม
มหาชนที่ผ่านไปผ่านมา พบเห็นดาบสินีนอนสิ้นใจ ต่างก็พากันสงสารในชะตากรรม พากันร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่ศาลาหลังนั้น ส่วนพระโพธิสัตว์กลับจากภิกขาจาร มาเห็นมหาชนคร่ำครวญกันอยู่ เมื่อรู้ว่าดาบสินีคู่ทุกข์คู่ยากสิ้นใจแล้ว ก็ไม่ได้แสดงอาการอะไร ยังคงทำภัตกิจตามปกติ เพราะเป็นผู้ที่มีใจมั่นคง มองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสัตวโลก มหาชนเห็นอย่างนั้น จึงพากันถามด้วยความสงสัยว่า "ท่านดาบสเป็นอะไรกับนาง"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หยุดใจเพื่อให้เป็นไทจากอารมณ์
พระราชาเห็นว่า การเข้าหาสมณะผู้สงบและรับฟังธรรมะจากท่าน คงจะทำให้ใจสงบขึ้นมาได้ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปอารามที่พระนารทเถระจำพรรษาอยู่ พระเถระได้แสดงธรรมให้พระเจ้ามุณฑะว่า "ขอถวายพระพรมหาบพิตร ในโลกนี้มีฐานะอยู่ ๕ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกไม่พึงได้ ฐานะ ๕อย่างนั้นคือ
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - เผชิญหน้าพญามัจจุราช
พระเถระได้อนุโมทนาในกุศลจิตของพระกุมาร แต่เมื่อตรวจดูอายุสังขารของพระกุมารแล้ว ได้บอกว่า พระกุมารจะมีชีวิตอยู่เพียง ๕เดือนเท่านั้น แม้ได้ทราบความนั้น พระราชกุมารก็ไม่ท้อใจ เพราะเข้าใจดีว่า คงเป็นกรรมในอดีตตามมาส่งผล ก็ไม่ได้หวาดหวั่นพรั่นพรึงอะไร จึงถามพระเถระถึงวิธีการที่จะหลุดพ้นจากความตาย
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก
วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กับพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ออกไปไถนาตั้งแต่เช้าตรู่ พ่อก็ไถนาไป ส่วนท่านกำลังเผาหญ้าอยู่ งูเห่าตัวหนึ่งได้เลื้อยออกมาจากโพรงไม้ เพราะกลัวถูกไฟเผา ด้วยความโกรธจึงกัดท่านทันที เมื่อรู้ว่าถูกงูพิษกัด ท่านจึงเรียกพ่อให้มาช่วย พ่อได้วิ่งมาดู แต่ไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ยอมรับความจริงกันดีกว่า
พระราชาไม่ทรงเชื่อ จึงท้าให้พระดาบสนำหนอนมาให้ดูก่อน พระองค์จึงจะยอมเชื่อ พระดาบสใช้อานุภาพของท่าน บังคับให้หนอนสองตัวที่กำลังชอนไชหาอาหารอยู่ในมูลโค ออกมาปรากฏต่อหน้าพระราชา พลางทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พระเทวีอุพพรีนี้ได้จากพระองค์ไปแล้ว บัดนี้กำลังเดินตามหลังหนอนตัวผู้ ขอพระองค์จงทอดพระเนตรเถิด”
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ผู้มีจิตมั่นคง
ครั้นเวลาเช้า พระภิกษุสงฆ์มีพระเถระทั้งสองเป็นประมุข ได้ออกบิณฑบาตไปตามถนน แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่บ้านของนางนันทมารดาซึ่งได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี เมื่ออังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นางก็เข้าไปนั่งสนทนา เล่าเรื่องที่ได้สนทนากับท้าวเวสสวัณเมื่อรุ่งอรุณให้พระเถระทั้งสองฟัง